การใช้เชื้อไวรัส NPV ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ของ นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส

ข้อดี

  1. เชื้อไวรัส NPV มีความจำเพาะสูงกับแมลงเป้าหมาย ดังนั้นจึงทำให้เกิดโรคกับแมลงเฉพาะชนิด
  2. มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งแมลงที่เป็นประโยชน์
  3. มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเชื้อไวรัส NPV เป็นสิ่งมีชีวิตจึงเสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ ไม่มีพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  4. เชื้อไวรัส NPV สามารถสร้างผลึกโปรตีนห่อหุ้มอนุภาคเชื้อไวรัสเอาไว้ ทำให้อยู่คงทนในสภาพแวดล้อมตัวแมลงได้ดี
  5. มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดแมลง สามารถเพิ่มจำนวนในแมลงที่มันทำลายได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วและทำให้แมลงตายได้
  6. สามารถแพร่ระบาดออกไปได้เองในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ลม น้ำ ช่วยพาเชื้อไวรัสจากหนอนที่ตายแล้วแพร่ออกไป หรือถ่ายทอดไปกับแม่ผีเสื้อโดยติดไปกับไข่จนเกิดการระบาดในรุ่นลูก
  7. การที่เชื้อไวรัส NPV สามารถสร้างผลึกโปรตีนห่อหุ้มอนุภาคไวรัส จึงนำมาใช้กำจัดแมลงในแปลงปลูกได้ เพราะคงทนในสภาพแวดล้อมนอกตัวแมลงได้ระดับหนึ่ง [5] [15]

ข้อด้อย

  1. มีความจำเพาะสูงใช้ได้กับแมลงเฉพาะชนิดจึงเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาเชิงการค้า
  2. ฆ่าแมลงได้ช้าและทำลายเฉพาะตัวอ่อนของแมลง หนอนวัยอ่อนจะตายภายใน 2-3 วัน แต่หนอนวัยแก่อาจใช้เวลา 5-10 วันจึงจะตายซึ่งช้ากว่าสารเคมีกำจัดแมลงมาก
  3. แม้จะสร้างผลึกโปรตีนห่อหุ้มตัวเองแต่เชื้อไวรัส NPV ก็จะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทำให้มีปัญหาเมื่อใช้กำจัดแมลงในที่ที่โดนแสงแดด
  4. การผลิตเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการค้ายังมีต้นทุนการผลิตสูงสินค้าจึงมีราคาแพงเมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัดแมลง [5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส http://www.microbiologybytes.com/virology/kalmakof... http://www.youtube.com/watch?v=1hXJKmdHNMw http://www.biocontrol.entomology.cornell.edu/patho... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1736/ http://en.wikipedia.org/wiki/Baculovirus http://forecast.doae.go.th/web/agrotis/319-animal-... http://forecast.doae.go.th/web/agrotis/319-animal-... http://forecast.doae.go.th/web/tomato/333-animal-p...